การเคลือบแบบ Air Sphere Coating (ASC) - RF Lens World - Canon Thailand

    การเคลือบแบบ Air Sphere Coating (ASC)

    การเคลือบแบบ Air Sphere Coating (ASC) คือเทคโนโลยีการเคลือบเลนส์ที่ออกแบบมาเพื่อลดการสะท้อนแสงของเลนส์ถ่ายภาพ Canon ได้คิดค้นการเคลือบแบบ Super Spectra Coating (SSC) ขึ้นมาเพื่อขจัดแสงหลอกและแสงแฟลร์ และทำให้สมดุลสีสม่ำเสมอกัน นอกจากนี้ยังมีการเคลือบแบบ Subwavelength Structure Coating (SWC) ที่ปฏิวัติวงการถ่ายภาพด้วยการยับยั้งไม่ให้แสงเข้าสู่เลนส์โดยทำมุมตกกระทบสูงและทำให้เลนส์สะท้อนแสงได้น้อยลงมาก หากคุณใช้เทคโนโลยีการเคลือบ ASC แบบใหม่ร่วมกับการเคลือบแบบ SWC เลนส์จะมีโอกาสเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกน้อยลงอีก

    Air Sphere Coating

    เมื่อเกิดการสะท้อนแสงลำดับที่สองระหว่างชิ้นเลนส์กับเซนเซอร์ภาพ แสงจะเกิดการบิดเบี้ยวหรือเกิดเอฟเฟ็กต์อื่นๆ ที่ทำให้คุณภาพของภาพลดลง ปรากฏการณ์นี้ทำให้เกิดแสงหลอกและแสงแฟลร์ในเลนส์ การถ่ายภาพโดยหันเข้าหาดวงอาทิตย์หรือในสถานการณ์อื่นๆ ที่มีแสงจ้าจากด้านหลัง แสงแฟลร์ซึ่งดูเหมือนจุดสีขาวที่สว่างเกินไปอาจบดบังภาพบางส่วน และแสงสะท้อนบนผิวเลนส์ก็อาจปรากฏเป็นองค์ประกอบส่วนเกินในภาพ (แสงหลอก) ASC คือความล้ำหน้าใหม่ล่าสุดที่ Canon ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบ ผลที่ได้คือ เลนส์จะมีโอกาสเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกน้อยลงมาก เนื่องจากแสงจะตกกระทบลงบนผิวของเซนเซอร์ภาพในมุมฉากเสมอ

    asc_02_1170x460b

    การเพิ่มชั้นฟิล์มบางๆ ทำจากซิลิกอนไดออกไซด์และอากาศเข้าไปบนการเคลือบด้วยฟิล์มที่ใช้ไอจะสามารถหยุดการสะท้อนแสงได้ เทคโนโลยีนี้เรียกว่า ASC การเคลือบนี้จะมีอากาศในปริมาณที่เหมาะสม ซึ่งมีดัชนีการหักเหแสงต่ำกว่ากระจกเลนส์มาก ชั้นเคลือบนี้จึงมีดัชนีการหักเหแสงต่ำเป็นพิเศษ ด้วยคุณสมบัตินี้ เลนส์จะมีประสิทธิภาพในการยับยั้งแสงสะท้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อแสงตกกระทบในมุมที่แทบจะตั้งฉากกับเลนส์ เมื่อใช้การเคลือบแบบ ASC ร่วมกับ SWC ที่สามารถยับยั้งการสะท้อนแสงลำดับสองที่ตกกระทบในมุมสูงได้ แสงส่วนเกินที่ผ่านเข้ามาในเลนส์จะถูกหยุดไว้ไม่ว่าจะมาจากมุมใด จึงสามารถลดการเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกอย่างได้ผล ASC ไม่ทำให้เกิดข้อจำกัดในการออกแบบเลนส์มากนัก เนื่องจากสามารถใช้ได้กับพื้นผิวที่มีความโค้งในลักษณะต่างๆ กัน

    ASC