จุดประสงค์ของการถ่ายภาพมาโครคือถ่ายภาพตัวแบบในระยะใกล้ ดังนั้น แบ็คกราวด์เบลอหรือโบเก้จึงเกิดจากการปรับรูรับแสงแทนที่จะเป็นระยะห่างจากตัวแบบ Canon ต้องการให้ผู้ใช้มีอิสระที่สร้างสรรค์มากขึ้นในการสร้างเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่ไม่เหมือนใครขณะถ่ายภาพมาโคร
Canon ทราบว่าหลักการเดียวกันนี้สามารถนำมาใช้ในการปรับความคลาดทรงกลม (SA) ได้ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาวงแหวนควบคุม SA ในที่สุึด ในอดีต ความคลาดทรงกลมเคยถูกมองว่าเป็นคุณสมบัติของเลนส์ชนิดพิเศษที่ทำให้คุณภาพโดยรวมของภาพลดลงเท่านั้น แต่ Canon เปลี่ยนความเชื่อนี้ได้โดยการพัฒนาระบบควบคุมที่สามารถควบคุมความคลาดทรงกลมด้วยความแม่นยำสูงขึ้นมาโดยเฉพาะ ผู้ใช้จึงถ่ายภาพให้มีเอฟเฟ็กต์โบเก้ที่นุ่มนวลหรือชัดเจนมากขึ้นได้ตามต้องการ
ในตอนที่ Canon เริ่มออกแบบเมาท์ RF รุ่นถัดจากเลนส์ EF100mm f/2.8L Macro IS USM ซึ่งเป็นเลนส์สุดโปรดของช่างภาพมาโครหลายคน การออกแบบออพติคอลของ EF100mm f/2.8L Macro IS USM ทำให้เลนส์นี้เป็นเลนส์รุ่นแรกของ Canon ที่มีวงแหวนควบคุม SA การออกแบบของเลนส์มาโครรุ่นนี้มีอัตราขยายภาพสูงสุด 1.4 เท่า (ซึ่งสูงกว่ากำลังขยาย 1.0 เท่า ของเลนส์ EF) และใช้งานร่วมกับวงแหวนควบคุม SA ได้อย่างมีประสิทธิภาพเนื่องจากมีระบบเลนส์แบบลอยตัว
คุณสมบัตินี้จึงเป็นการเปิดตัวฟังก์ชั่นใหม่ที่ใช้ในการปรับลักษณะของเอฟเฟ็กต์โบเก้ ทำให้ได้โฟกัสที่นุ่มนวลหรือโบเก้แบบวงกลม (โบเก้ที่ชัดเจน) เช่นเดียวกับเลนส์รุ่นเก่าๆ ไม่ว่าคุณจะถ่ายภาพแบบมาโครหรือใช้ระยะตามปกติ ผู้ใช้สามารถปรับความระดับความนุ่มนวลของตัวแบบที่อยู่ในโฟกัสได้โดยการหมุนวงแหวนควบคุม SA ที่อยู่บนท่อเลนส์ คุณสมบัตินี้เป็นประโยชน์ทั้งในการถ่ายภาพมาโครและภาพพอร์ตเทรต ระบบควบคุม SA ที่มาพร้อมกับความสามารถในการปรับเอฟเฟ็กต์โบเก้ทำให้ผู้ใช้ที่ถ่ายภาพมาโครและภาพพอร์ตเทรตถ่ายทอดภาพออกมาได้ในแบบที่ไม่เคยมีเลนส์ใดของ Canon ทำได้มาก่อน