การเคลือบแบบ Super Spectra Coating - RF Lens World - Canon Thailand

    การเคลือบแบบ Super Spectra Coating

    Super Spectra Coating

    Canon ได้กำหนดเกณฑ์สำหรับเลนส์ถ่ายภาพที่สมบูรณ์แบบเอาไว้ 4 ข้อ ได้แก่

    1. แฉกแสงจากจุดหนึ่งบนตัวแบบควรมาบรรจบกันที่จุดเดียวหลังผ่านเข้ามาในเลนส์
    2. พื้นผิวเรียบใดๆ ที่ตั้งฉากกับแกนออพติคอลควรมีลักษณะราบเรียบ
    3. วัตถุแบนราบใดๆ ที่ตั้งฉากกับแกนออพติคอลควรถูกแสดงออกมาโดยปราศจากความบิดเบี้ยว
    4. สีสันต่างๆ ของตัวแบบต้องมีความถูกต้อง

    Canon กำหนดให้เกณฑ์ข้อสุดท้ายเป็นวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาเลนส์ Canon ได้ตั้งมาตรฐานของตนเองขึ้นมาเพื่อการถ่ายทอดสีที่สม่ำเสมอในช่วง 10 ปีหลังปี พ.ศ. 2503 เมื่อช่างภาพมืออาชีพเริ่มใช้ฟิล์มสไลด์กันเป็นครั้งแรก Canon เริ่มต้นด้วยข้อสันนิษฐานที่ว่าเลนส์ทุกรุ่นควรถ่ายทอดสีได้เหมือนกัน อย่างไรก็ตาม ในการประเมินความแม่นยำของสี จะต้องมีการกำหนดเกณฑ์ในการประเมินการถ่ายทอดสีและสมดุลสีขึ้นมา Canon เริ่มด้วยการศึกษาคุณสมบัติของแสงแดด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนแปลงของแสงที่เกิดขึ้นตลอดระยะเวลา 1 ปีในขณะที่คุณภาพอากาศและมุมของดวงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงไป นอกจากจะทำการทดสอบภาพซ้ำๆ แล้ว Canon ยังได้รวบรวมความคิดเห็นจากกรรมการอีกหลายท่านด้วย จากนั้น ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการนี้ก็ถูกนำมาแปลงเป็นตัวเลข และกลายมาเป็นมาตรฐานของ Canon สำหรับการถ่ายทอดสีของเลนส์ในที่สุด เมื่ออุตสาหกรรมถ่ายภาพนำเอาดัชนีการกระจายสี ISO มาใช้เป็นมาตรฐานของอุตสาหกรรมในช่วง 10 ปีหลังพ.ศ. 2523 ค่าที่ใช้นั้นแทบจะเหมือนกับที่ Canon ใช้อยู่ แม้ว่ามาตรฐานของ Canon จะเข้มงวดกว่าเล็กน้อยเนื่องจากอนุญาตให้มีการคลาดเคลื่อนน้อยกว่า

    Canon ได้พัฒนาเทคโนโลยีการเคลือบแบบ Super Spectra Coating (SSC) ขึ้นมาเพื่อให้เลนส์เป็นไปตามมาตรฐานการถ่ายทอดสีที่เข้มงวดนี้ การเคลือบหลายชั้นทำให้เลนส์มีพื้นผิวที่แข็ง ทนทาน และมีคุณสมบัติเสถียร จึงช่วยลดการเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกจากแสงสะท้อนบนผิวเลนส์ได้ เมื่อใช้กับกล้องดิจิทัลที่มีโอกาสเกิดแสงแฟลร์และแสงหลอกได้ง่าย การเคลือบแบบ Super Spectra Coating จะช่วยให้ภาพมีสมดุลสีที่เหมาะสม Canon ยังคงเดินหน้าพัฒนาประสิทธิภาพในการเคลือบอย่างต่อเนื่องด้วยความมุ่งมั่นที่จะปรับตัวไปตามกาลเวลาและความต้องการที่เปลี่ยนไปของช่างภาพมืออาชีพ