ความคลาด - RF Lens World - Canon Thailand

    ความคลาด

    สาเหตุที่ทำให้เกิดความคลาด

    เมื่อแสงเดินทางผ่านสารที่มีลักษณะใส จะเกิดเอฟเฟ็กต์ที่เรียกว่าการหักเหแสง ระดับของการหักเหแสง (ซึ่งก็คือดัชนีการหักเหแสงของวัสดุ) จะแตกต่างกันไปตามความยาวคลื่น (สี) ของแสง ความแตกต่างของดัชนีการหักเหแสงนี้เรียกว่า การกระจายแสง

    เลนส์กล้องมีการทำงานแบบเดียวกับปริซึม คือจะแยกแสงที่ผ่านเข้ามาออกเป็นสเปกตรัมสีรุ้ง บนผิวเลนส์ที่มีลักษณะโค้ง มุมการหักเหแสงจะแตกต่างกันแม้ความยาวคลื่นจะเท่ากัน (สีเดียวกัน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับมุมที่แสงตกกระทบ ทำให้จุดที่สำแสงของความยาวคลื่นต่างๆ มาบรรจบกันคลาดเคลื่อนออกไป

    ตามหลักการแล้ว แสงทั้งหมดควรมาบรรจบที่จุดเดียวกันไม่ว่าจะมีความยาวคลื่น (สี) ใด แต่ในความเป็นจริง การออกแบบของระบบออพติคอลจะทำให้สภาวะตามหลักการนี้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ภายในกล้อง ดังนั้น คุณภาพของภาพจึงลดลง และความแตกต่างเช่นนี้เองที่เรียกว่า “ความคลาด” ระดับการเกิดความคลาดเป็นปัจจัยข้อหนึ่งที่ใช้ในการตัดสินคุณภาพของเลนส์

    Aberration

    ผลกระทบของความคลาดและวิธีการแก้ไข

    ผลเสียของความคลาดจะปรากฏให้เห็นในภาพเป็นสีเบลอ การเบลอในลักษณะเหมือนหางของดาวหาง หรือปัญหาอื่นๆ เช่น ขาดความคมชัดหรือความเปรียบต่าง เนื่องจากปัญหาที่เกี่ยวข้องกับความคลาดส่วนใหญ่จะสามารถบรรเทาได้โดยการขจัดแสงที่มาจากส่วนขอบเลนส์ วิธีหนึ่งที่ใช้ได้ผลในการหลีกเลี่ยงปัญหานี้คือการลดค่าสต็อปของรูรับแสง

    เลนส์แก้ความคลาดทรงกลมและเลนส์ UD คือวิธีการทางเทคโนโลยีที่สามารถลดความคลาดในภาพได้ นอกจากเลนส์ที่สามารถชดเชยความคลาดด้วยการออกแบบออพติคอลแล้ว Canon ยังใช้เลนส์ที่มีคุณสมบัติในการแก้ไขความคลาดที่ใช้วิธีการแบบอิเล็กทรอนิกส์ (การประมวลผลดิจิทัล) ด้วยในกรณีที่การลดขนาดและน้ำหนักของเลนส์เป็นปัจจัยสำคัญ

    Answer Aberration