เคล็ดลับการใช้กล้อง Compact การเลือกซื้อกล้อง - Canon Thailand

เคล็ดลับการใช้กล้อง Compact การเลือกซื้อกล้อง

คุณสามารถลงทะเบียนเข้ารับการฝึกอบรมการใช้กล้องดิจิตอลคอมแพคของเราได้แล้ววันนี้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด เพื่อที่คุณจะสามารถใช้ฟังก์ชั่นที่สำคัญต่างๆในกล้องของคุณได้ภายในเวลาเพียงสองชั่วโมง

คำแนะนำนี้จะช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพใต้น้ำได้ดียิ่งขึ้นและครอบคลุมหัวข้อต่างๆ อาทิ

  • การเตรียมความพร้อมก่อนการดำน้ำ
  • การถ่ายภาพมาโคร ภาพมุมกว้างและภาพพาโนรามา
  • การรีทัชภาพ
  • การดูแลรักษากล้อง (ทั้งก่อนลงน้ำ, ขณะอยู่ในน้ำและหลังขึ้นจากน้ำ)

สิ่งที่คุณต้องพิจารณาในการเลือกซื้อกล้องดิจิตอล

  1. องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในกล้องดิจิตอลก็คือเลนส์ เพราะว่าแสงทั้งหมดจะต้องวิ่งผ่านเข้ามาทางเลนส์ ดังนั้น คุณจึงควรเลือกกล้องที่ผลิตโดยบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในการผลิตกล้องที่ใช้ฟิล์มและเลนส์มายาวนาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่มีชื่อเสียงในด้านการผลิตเลนส์
  2. พิจารณาว่ากล้องดิจิตอลนั้นรองรับหน่วยความจำในการเก็บภาพแบบใด การ์ดคอมแพคแฟลชเป็นหน่วยความจำที่ดีที่สุดเพราะว่าหนาและแข็งแรง อุปกรณ์output หลายประเภทอย่างเช่น พริ้นเตอร์และโปรเจคเตอร์ก็ใช้คอมแพคแฟลชในการเก็บข้อมูลด้วยเช่นกัน คุณจึงสามารถ output ภาพในคอมแพคแฟลชออกทางอุปกรณ์เหล่านี้ได้โดยตรงทันที

ในสมัยก่อนกล้องใช้ฟิล์มในการบันทึกภาพ แต่ในกล้องดิจิตอลนั้นแทนที่เราจะใช้ ฟิล์มก็เปลี่ยนเป็นเซ็นเซอร์ชิปขนาดเล็กแทน อาจจะเป็น CCD (Charged Coupled Device) หรือ CMOS (Complementary Metal Oxide Semiconductor) ซึ่งจะจัดเก็บภาพในรูปแบบดิจิตอล

พื้นผิวของเซ็นเซอร์ CCD หรือ CMOS นี้มีการแบ่งเป็นช่องสี่เหลี่ยมขนาดเล็กจิ๋วเรียกว่าพิกเซล แต่ละพิกเซลจะทำหน้าที่บันทึกหนึ่งเซ็กเมนท์ของภาพ ยิ่งเซ็นเซอร์มีจำนวนพิกเซลมากเพียงใดก็จะยิ่งสามารถเก็บรายละเอียดได้มากเท่านั้น จริงอยู่ที่ว่าจำนวนพิกเซลของ CCD เป็นเกณฑ์วัดที่ดีว่ากล้องจะเก็บรายละเอียดได้มากเพียงใด แต่จำนวนพิกเซลก็ยังไม่ใช่ทุกสิ่งอยู่ดี

เพียงแค่การที่กล้องมีจำนวนพิกเซลมากขึ้นอีกสักล้านพิกเซลก็ยังไม่อาจช่วยให้คุณภาพของภาพดีขึ้นเสมอไป ปัจจัยอื่นๆก็มีบทบาทสำคัญในการสร้างสรรค์ภาพที่มีคุณภาพเช่นกัน เช่น เลนส์ คัลเลอร์ฟิลเตอร์ที่ใช้ในเซ็นเซอร์และดิจิตอลอิมเมจโปรเซสเซอร์ (ดูภาพด้านล่างนี้เพื่อเป็นการเปรียบเทียบความละเอียดของกล้องดิจิตอลกับดวงตาของมนุษย์)

ในการที่จะจับภาพให้ได้นั้น ก่อนอื่นเราจะต้องปล่อยให้แสงผ่านเข้ามาทางเลนส์เสียก่อน (เช่นเดียวกันกับในดวงตาของมนุษย์) แสงที่เข้ามาจะถูกรวบรวมด้วยประจุไฟฟ้าโดยเซ็นเซอร์ (เปรียบได้กับจอประสาทตาของมนุษย์) แต่ตัวเซ็นเซอร์นี้ไม่สามารถแยกแยะสีได้ด้วยตัวเอง จึงต้องข้อมูลสีจากคัลเลอร์ฟิลเตอร์ที่วางเรียงอยู่บนแต่ละพิกเซลอีกชั้นหนึ่ง ข้อมูลภาพที่รับได้โดยเซ็นเซอร์จะถูกแปลงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลเพื่อการวิเคราะห์และประมวลผลโดยอิมเมจโปรเซสเซอร์ (เปรียบได้กับสมองของมนุษย์) ก่อนที่จะมีการบันทึกภาพลงบนเมโมรี่การ์ด กระบวนการเหล่านี้แต่ละกระบวนการล้วนแล้วแต่มีผลต่อคุณภาพของภาพทั้งสิ้น

ดังนั้นคุณจึงไม่ควรพิจารณาเฉพาะจำนวนพิกเซลเท่านั้น แต่ควรดูเรื่องเลนส์และ CCD ของผู้ผลิตกล้องประกอบด้วย

  1. ใช้หน้าจอ LCD เพื่อจัดองค์ประกอบของภาพก่อนถ่าย
    สิ่งที่คุณต้องทำคือการหาวัตถุที่คุณสนใจและอยากจะเน้นในภาพ จากนั้นจึงเริ่มจัดองค์ประกอบภาพโดยใช้หน้าจอ LCD และตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าบนหน้าจอมีแต่สิ่งที่คุณต้องการให้คนอื่นเห็นเท่านั้นปรากฏอยู่ หากคุณถ่ายภาพวัตถุที่กำลังเคลื่อนไหวก็อย่าลืมเว้นที่ว่างไว้ด้านหน้าวัตถุนั้นอย่างเพียงพอ เพื่อที่วัตถุนั้นจะได้ดูเหมือนกำลังเคลื่อนไหวอยู่ในภาพ จากนั้นจึงทำการถ่ายเพื่อที่คุณจะได้ภาพเต็มขนาดและจัดกรอบตามที่คุณต้องการอย่างแท้จริง แต่หากคุณยังไม่พอใจกับองค์ประกอบภาพก็สามารถถ่ายซ้ำได้ตามต้องการ
     
  2. ให้ฉากหลังมีแสงสว่างเพียงพอ
    หากคุณใช้กล้องประเภทที่ง่ายในการถ่ายและสามารถถ่ายได้เรื่อยๆให้ตรวจดูว่าฟังก์ชั่นแฟลชอัตโนมัติทำงานอยู่หรือไม่ หากคุณใช้กล้องที่ต้องการสร้างสรรค์และควบคุมการถ่ายได้เองมากกว่ากล้องปกติคุณก็สามารถเลือกให้แสงสว่างแก่ภาพได้ด้วยวิธีการต่างๆต่อไปนี้
  • ใช้แฟลชประเภทต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพแสง
  • ปรับรูรับแสง/ความเร็วชัตเตอร์ให้แสงเข้าสู่กล้องได้มากขึ้น/น้อยลง
  • หากถ่ายภาพในเวลากลางคืน ให้คุณตั้งค่า ISO ในช่วง 100-400
  • ใช้โหมดการชดเชยแสงหากมีแสงจ้าเข้ามาจากทางด้านหลังของวัตถุ
  • ใช้แบตเตอรี่ลิเธียมที่มีความจุมากกว่า ราคาอาจจะสูงกว่าเป็นสองเท่าแต่กำลังไฟในแบตเตอรี่ประเภทนี้จะช่วยให้คุณสามารถถ่ายภาพได้นานขึ้นสามเท่า
  • ใช้แบตเตอรี่นิคเกิ้ลแคดเมี่ยม (NiCd) แต่จะดียิ่งกว่าหากใช้แบตเตอรี่นิคเกิ้ลเมทัลไฮดรายด์ (NiMH) แบตเตอรี่นิคเกิ้ลเมทัลไฮดรายด์นี้สามารถชาร์จไฟได้ถึง 500 ครั้งและใช้เวลาในการชาร์จจนเต็มเพียงสามชั่วโมง
  • ซื้อแบตเตอรี่สำรองเพื่อที่คุณจะได้มีแบตเตอรี่สำรองไว้เปลี่ยน
  • เลือกซื้อแบตเตอรี่แพ็คแบบปลั๊กอินที่สามารถชาร์จไฟใหม่ได้เพื่อการใช้งานที่ยาวนาน แต่ก่อนที่จะซื้อกล้องดิจิตอล ให้ตรวจสอบดูก่อนว่าสามารถต่อกับแบตเตอรี่แพ็คดังกล่าวได้หรือไม่
  • ใช้ช่องมองภาพแบบออพติคอลของกล้องเมื่อใดก็ตามที่สามารถทำได้ นอกจากว่ากล้องของคุณจะไม่มีช่องมองภาพดังกล่าว เพราะหน้าจอ LCD นั้นอาจจะมอบความสะดวกในการตรวจดูภาพที่เพิ่งถ่ายไปได้ก็จริงอยู่ แต่ก็สามารถทำให้แบตเตอรี่ที่ชาร์จจนเต็มหมดได้ภายในเวลาไม่ถึง 20 นาที ดังนั้นเมื่อคุณเลือกซื้อกล้อง ควรดูกล้องประเภทที่มีทั้งช่องมองภาพแบบออพติคอลธรรมดาประกอบกับช่องมองภาพแบบ LCD ด้วย
  • หากคุณเลือกได้ให้ปิดหน้าจอ LCD และเปิดใช้เฉพาะในเวลาที่คุณต้องดูภาพจริงๆหรือตรวจภาพที่เพิ่งถ่ายไปว่าใช้ได้หรือไม่
  • ปิดกล้องหลังถ่ายให้เป็นนิสัย อย่าเปิดกล้องทิ้งไว้ นอกจากว่าคุณพร้อมที่จะถ่ายภาพต่อไปทันที
  • เก็บภาพไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ
    กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆจะมาพร้อมกับสาย USB เพื่อการเชื่อมต่อความเร็วสูงกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เพียงดาวน์โหลดซอฟท์แวร์และทำให้กล้อง sync กับเครื่องคอมพิวเตอร์แล้วคุณก็จะสามารถโหลดภาพลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ หรือแปลงภาพจากฟอร์แมทเดิม (ส่วนใหญ่จะเป็น .tiff หรือ .gif) ให้เป็น .jpeg ซึ่งเป็นฟอร์แมทที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการส่งภาพเนื่องจากไฟล์ประเภทนี้มีการบีบอัดไฟล์ภาพแล้วและโหลดเร็วกว่ามาก หลังจากเชื่อมต่อได้แล้วคุณก็สามารถจัดระเบียบภาพดิจิตอลได้โดยการใช้ซอฟท์แวร์อัลบั้มภาพที่มาพร้อมกับกล้องอย่างเช่น Zoom Browser เพื่อให้ไฟล์ภาพของคุณจัดเป็นหมวดหมู่มีระเบียบ อย่าลืมลบรูปที่คุณไม่ต้องการทิ้งด้วยเพราะว่าหากเก็บไว้จะเป็นการสิ้นเปลืองพื้นที่หน่วยความจำมากเกินไป
  • ส่งให้เพื่อนทางอีเมล์
    ก่อนส่งคุณต้องทราบก่อนว่าผู้รับใช้โปรแกรมอีเมล์ (เช่น Microsoft Outlook) ที่สามารถเปิดดูไฟล์แนบได้ จากนั้นจึงเลือกภาพที่คุณชอบ พยายามแนบไฟล์ไม่เกิน 1-2 ภาพ เพื่อให้โหลดได้เร็วยิ่งขึ้น
  • จัดเก็บรูปภาพในอัลบั้มออนไลน์
    มีอัลบั้มรูปภาพออนไลน์มากมาย บางอัลบั้มให้พื้นที่เก็บข้อมูลฟรี ในขณะที่บางอัลบั้มคิดค่าเช่าพื้นที่ ตรวจสอบเว็บไซต์เหล่านี้:
    www.yahoo.com.sg
    www.shutterfly.com
    www.ofoto.com
    www.snapfish.com
    www.clubphoto.com
    www.flipcity.com
  • พิมพ์ภาพแบบที่ 1 
    คุณสามารถนำภาพที่เก็บไว้ในคอมแพคแฟลชไปพิมพ์ที่แล็บได้ แต่ว่าแล็บจะไม่รีทัชภาพให้คุณ วิธีการพิมพ์ที่ดีที่สุดคือการพิมพ์เองด้วยโฟโต้พริ้นเตอร์คุณภาพดี เพียงใช้ Zoom Browser เพื่อดาวน์โหลดรูปลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ก่อนแล้วจัดเรียงรูปลงบนพื้นที่ขนาดกระดาษ A4 โดยคุณจะสามารถพิมพ์ภาพขนาด 5R จำนวนสองภาพหรือภาพขนาด 3R จำนวนสี่ภาพบนกระดาษขนาด A4 หนึ่งแผ่น
  • พิมพ์ภาพแบบที่ 2 
    หรือคุณอาจเลือกซื้อพริ้นเตอร์ภาพถ่ายโดยตรง เชื่อมต่อกล้องดิจิตอลเข้ากับพริ้นเตอร์ CP-10 (ขนาดการ์ด MRT) หรือ CP-100 (ขนาดโพสท์การ์ด) หรือเสียบคอมแพคแฟลชเข้ากับพริ้นเตอร์ S820D โดยตรงเพื่อพิมพ์ภาพขนาด 4R หรือ A4

ความละเอียดคือการวัดขนาดภาพด้วยจำนวนพิกเซล แต่เนื่องจากความละเอียดสูงสุดของภาพมีแต่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ กล้องดิจิตอลจึงต้องใช้กระบวนการที่เรียกว่าการบีบอัดไฟล์เพื่อลดขนาดของภาพให้เล็กลงเหลือเท่าที่พอจะจัดการได้ก่อนที่จะทำการบันทึกภาพ วิธีการนี้สามารถเพิ่มจำนวนภาพที่คุณจะจัดเก็บในเมโมรี่การ์ดได้เป็นอย่างดี แต่ก็ต้องแลกด้วยคุณภาพที่จะลดลงนั่นเอง 

คุณสามารถตั้งค่าความละเอียดและการบีบอัดไฟล์ตามการใช้งานจริงของคุณดังนี้: 

การใช้งาน ความละเอียดที่แนะนำ การบีบอัดไฟล์
อีเมล์ Low - Medium Normal
พิมพ์ภาพบุคคล Large Fine/Superfine
พิมพ์ภาพอาคาร/ทิวทัศน์ Large Normal